Garrard 301 Restoration ของคุณ ปาล์ม

Garrard 301 Restoration

FR 66 S

SME 3012 R

ของ คุณ ปาล์ม

 

 

 

 

 

         เปรียบเทียบเสียง FR 66 S/ SME 3012 R ต่างกันอย่างไร

                   SME ตระกูล 3012 เป็นโทนอาร์มที่นักเล่นเครื่องเล่นแผ่นเสียงส่วนใหญ่จะรู้จักดีและได้เคยเล่นเคยฟังกันมาแล้วเกือบทั้งนั้นส่วน FR 66 S มีน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้สัมผัส เนื่องจากเป็นโทนอาร์มระดับเวิล์ดคลาสตัวหนึ่งที่ค่อนข้างหายากและมีราคาแพงกว่า SME 3012 R ถึงสามเท่าตัว

                 ฉะนั้นถ้าอยากรู้ถึงบุคลิกของ FR 66 S ก็ควรจะนำไปเปรียบเทียบกับ SME 3012 R ที่ทุกคนส่วนใหญ่ได้รู้จักกันมาแล้วเป็นอย่างดี

                การฟังเปรียบเทียบระหว่างโทนอาร์มสองตัว ที่อยู่ต่างกรรมต่างวาระ ต่างเครื่อง ต่างซิสเต็ม เป็นเรื่องที่ยากมากและมีความคลาดเคลื่อนสูง ไม่อาจจะนำมาเป็นมาตรฐานได้

                ครั้งนี้มีโอกาสได้จับโทนอาร์มทั้งสองตัวให้มาอยู่บนแท่นเดียวกัน บน Garrard 301 จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะได้ฟังเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้ เฮดเชล หัวเข็ม สายโทนอาร์ม ปรีโฟโน ตลอดจนซิสเต็มที่ใช้ เป็นตัวเดียวกันทั้งหมด ใช้ระยะเวลาเล่นและฟังอยู่ประมาณหนึ่งเดือน จึงได้บทสรุปออกมาดังนี้ 

                  1.Specifications

                       1.1 FR 66 S 

                             -Spindle to Pivot = 295 mm

                             -Overhang            = 12 mm

                             -Effective lenght = 307 mm

                             -Effective Mass  = 30 g

                             -Made in Japan 

                       1.2 SME 3012 R

                             -Spindle to Pivot = 295.6 mm

                             -Overhang            = 12 mm

                             -Effective lenght = 308.8 mm

                                                    -Effective Mass = 12.8 g

                             -Made in USA    

                  2. Tonal Balance

                      FR 66 S จะเกลี่ยโทนบาล๊านส์ ทุ้ม กลางแหลม ได้ดีกว่า มีปริมาณที่พอดี ไม่มีย่านเสียงไหนที่ ด้อย หรือโดดล้ำหน้าออกมา ส่วน SME 3012 R ย่านความถี่ของเสียงกลางเช่นเสียงนักร้อง จะโดดเด่นออกมาจากดนตรีย่านอื่นๆอย่างชัดเจน..ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่า มาจากการตอบสนองความถี่เสียงในย่านความถี่ต่ำและย่านความถี่สูง ที่ด้อยกว่า FR 66 S 

                 3. Image
                     FR 66 S บอกตำแหน่ง และขนาดของชิ้นดนตรี ได้ชัดเจนกว่า นี่งกว่า ส่วน SME 3012 R ตัวโน๊ตจะออกเบลอ ๆ และวูบวาบกว่าเล็กน้อย สาเหตุน่าจะมาจาก ตัววัสดุและโครงสร้างของโทนอาร์มที่มีความเสถียรสู้ FR 66 S ไม่ได้
                 4. Soundstage
                     เวทีเสียง สามมิติ ทั้งกว้าง สูง ลึก โดยเฉพาะ ระดับชั้นของดนตรีในด้านลึก เสียงเครื่องเป่า เครื่องเคาะ เสียงเบส และบรรยากาศของห้อง FR 66 S ทำได้ดีกว่าอย่างชัดเจน ส่วนเวทีในด้านกว้าง SME 3012 R ก็ไม่ไดด้อยกว่า เพียงแต่จะออกแบนๆ ไม่ค่อยมีมิติ
                5.Dynamics
                     การไต่ระดับต่อเนื่องไหลลื่นของชิ้นดนตรี SME 3012 R จะทำได้ดีกว่า ส่วน FR 66 S จะโดดเด่นในเรื่องของ อิมแพ็ค และความฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของชิ้นดนตรีจากหนักไปเบากระชับ และรวดเร็ว การตอบสนองในย่านความถี่ต่ำและรายละเอียดในย่านความถี่สูง ทำได้ดีกว่าชัดเจน
                6. FR 66 S เป็นโทนอาร์ม Hi-Mass โครงสร้างทั้งตัวทำมาจากสแต็นเลส ส่วน SME 3012 R เป็นโทนอาร์ม Midium Mass โครงสร้างเป็นส่วนผสมระหว่าง อลูมิเนียมและ สแต็นเลส

          สรุป

           FR 66 S จะโดดเด่นกว่า SME 3012 R เกือบทุกด้าน ในแง่ของการฟังแบบเจาะจงแยกแยะ ในเชิงวิทยาศาสตร์ในแบบที่สามารถบอกออกมาเป็นกราฟ เป็นตัวเลขได้ แต่ในแง่ของอารมณ์เพลงและความเป็นดนตรี ก็อาจจะไม่ได้ดีกว่าเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นแผ่นที่บันทึกมาในระดับ Hi res หรือแผ่นที่เราเรียกกันว่าแผ่น ออดิโอไฟล์หรือเพลงประเภทเพลงคลาสสิค วงออเครสตร้าที่มีเครื่องดนตรีประดับเป็นร้อยชิ้น FR 66 S จะทำได้ดีกว่าอย่างแน่นอน แต่ถ้าเป็นดนตรีแจ๊สสองสามชิ้น เพลงที่เน้นเสียงร้อง เพลงลูกทุ่งหรือเพลงเก่าๆที่บันทึกมาไม่ค่อยดี SME 301 R จะมีผลลัพท์ที่ดีกว่า หรืออาจจะเรียกว่า FR 66 S เป็นแนว ออดิโอไฟล์ส่วน SME 3012 R ที่จะมีแนวทางไปทางวินเทจมากกว่าก็ได้ ส่วนราคาปัจจุบัน SME 3012R ประมาณ 80,000 บาท/FR 66 S ประมาณ 250,000 บาท

 

 

                

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 122,230