EP 19....30 July 2023.... อ เมือง พิจิตร กับ DS -W3

EP 19

DS Audio / DS- W3 ......Phono Cartridge

Transrotor / Z-3...... Turntable

SME / M2-9 ...... Tonearm

Wilson Audio / Sasha S2...... Speakers

Tannoy / Westminter Royal Gold Reference......Speakers

Manley / 250 ......Power Amplifier

Cary / CAD -211FE....Power Amplifier

 

คุณเต้ย จ.พิจิตร

30 July 2023

          ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

                 คำขวัญประจำจังหวัด เปรียบเสมือนบทสรุปอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของเมือง  

          ซึ่งจังหวัดพิจิตรนั้น ก็จะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักตามคำขวัญของเมือง... หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พระดังของจังหวัด ... ประเพณีแข่งขันเรือยาว ที่มีถ้วยพระราชทานเป็นเดิมพันทุกปี... ส้มโอท่าข่อย  ที่มีรสชาติ โดดเด่น หวานอมเปรี้ยว เนื้อฉ่ำ เมื่อผลแก่เต็มที่เมล็ดในจะลีบหายไป ... หลวงพ่อเพชร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพิจิตร รวมไปถึงที่เที่ยวดัง อย่าง ...บึงสีไฟ แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศไทย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดและที่อยู่ของนกมากมายหลายชนิด ยังเป็นจังหวัดที่ปลูกข้าวมากเป็นอันดับสามของภาคเหนือ และมีตำนานพื้นบ้านอย่าง พระญาชาละวัน ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ต้องรู้จัก

 

 

 

 

 

 

 

          กว่าจะตัดใจให้ละอารมณ์จากซีรีย์ที่ดูมาต่อเนื่องตั้งแต่ 3 ทุ่ม ก็เกือบตี 3 ....สรุปแล้วก็ยังไม่ได้นอนเหมือนเดิม  กลายเป็นวิถีชีวิตปกติไปแล้วที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม หรือไลฟ์สไตล์ของตัวเองไปในแนวทางที่มีผลดีต่อสุขภาพได้....ทุกอย่างไม่เคยมีเวลาตายตัว ....จะกินก็เมื่อหิว ....นอนก็เมื่อง่วง 

      อาบน้ำให้สดชื่นหน่อย ต้องขับรถอีกไกล 350 กม.   วันนี้มีนัดติดหัวเข็มลูกค้าที่จังหวัดพิจิตร

 

 

 

 

          เหมือนเดิมกับทุกๆ ครั้ง แวะที่พักริมทางหลังด่านงามวงศ์วาน  ....กาแฟร้อนๆ กับขนม 1 ชิ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            เกือบทุกที่ในประเทศไทย....แยกไฟแดงใหญ่ๆ สามารถใช้เป็นที่ประกอบสัมมาอาชีพของผู้คนในท้องถิ่น ทั้งขาย น้ำ อาหาร ผลไม้ พวงมาลัย ...ถึงแม้จะเป็นการผิดกฏระเบียบ....แต่ที่นี่ประเทศไทย  เรามีวัฒนธรรมที่มีความยืดหยุ่น ถ้อยทีถ้อยอาศัย ถ้าไม่ทำอะไรที่เดือดร้อนกับผู้คนส่วนใหญ่ เราก็จะปล่อยๆกันไป...ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด เป็นเพียงการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคม เอื้อเฟ้อเผื่อแผ่ ที่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมแบบไทยๆ ....เพียงแต่ยังมีกลุ่มคนบางพวกที่ใช้ข้อดีอันนี้ไปหากินกับเด็กและผู้ด้อยโอกาส ในลักษณะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ เราจะเห็นได้ชัดตามแยกไฟแดงในกรุงเทพ ที่มีเด็กๆ มาขายพวงมาลัย หรือบางครั้งก็มาขอเงินกันแบบดื้อๆ ...ซึ่งตามอุปนิสัยของคนไทย เห็นผู็ด้อยโอกาสก็มักจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ....แต่เท่าที่รู้มามักจะมีกลุ่มมิจฉาชีพอยู่เบื่องหลัง....ก็คงต้องหวังไว้กับผู็รักษากฎหมายและผู้มีความรับผิดชอบทางด้านนี้  เพื่อแยกกลุ่มผู้เดือดร้อนออกจากกลุ่มมิจฉาชีพ....เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ

 

 

          สะพานกลับรถแห่งแรกของจังหวัดพึ่งจะสร้างแล้วเสร็จ....ก่อนเข้าเมืองนครสวรรค์ 

 

 

 

           สะพานเดชาติวงศ์ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่อยู่เหนือน้ำที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสะพานถนนของถนนพหลโยธิน  ก่อนเข้าสู่ใจกลางเมืองจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งกรมทางหลวงได้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2485 และเปิดให้ใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 ซึ่งชื่อของสะพานนั้นมาจากชื่อสกุลของพันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวงในสมัยนั้น โดยปัจจุบันสะพานแห่งนี้เป็นสะพานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยในการเดินทางเข้าสู่จังหวัดทางภาคเหนือ และนอกจากนี้ยังเป็นจุดชมวิวแม่น้ำสองสีที่สวยงามที่สุดอีกจุดหนึ่งด้วย

 

          ประวัติ สะพานเดชาติวงศ์ ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2485 ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา สร้างโดยผู้รับผิดชอบแนวเส้นทางของถนนพหลโยธินคือกรมทางหลวง มีจุดประสงค์ให้สะพานแห่งนี้เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างภาคกลางและภาคเหนือแทนเส้นทางเรือ โดยมีพิธีเปิดการจราจรบนสะพานเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2493 โดยมีพันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวงในสมัยนั้นเป็นประธานเปิดสะพาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 กรมทางหลวงได้งบประมาณทางหลวงหมายเลข 32 ตอน บางปะอิน-นครสวรรค์ จึงได้สร้างสะพานขึ้นอีกสะพานหนึ่งคู่กับสะพานเดชาติวงศ์เดิม เรียกว่า สะพานเดชาติวงศ์ 2 โดยเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กคู่ขนานไปกับสะพานเดชาติวงศ์เดิม และเปิดใช้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ต่อมาได้มีการสร้างสะพานเดชาติวงศ์ 3 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และสร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2536

         

        ผ่านตัวเมืองเข้ามา  มองไปทางขวามือบนยอดเขาไกลๆจะเห็น  พระจุฬามณีย์ เจดีย์ ของวัดคีรีวงศ์ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐ์ รอยพระพุทธบาทจำลอง 12 ราศี นอกจากนี้ยังมีรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง ของเกจิอาจารย์ชื่อดัง คือ 1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี 2. หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ 3. หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ 

        วัดคีรีวงศ์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ของวัดทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ 280 ไร่ และยังเป็นที่ตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาจังหวัดนครสวรรค์ ในความอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา และเป็นที่ตั้งอุทยานการศึกษา ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งเป็นสำนัก ...

 

 

 

 

 

 

          ขับมาถึงจุดนี้ ก็มีคำถามในใจอยู่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เห็นกล้องตรวจจับความเร็วมารวมอยู่ในที่เดียวกันถึง 4 ตัว....ว่าทำไมต้องมีถึง 4 ตัวในจุดเดียวกัน ....หรือมีเหตุผลทางเทคนิค

 

 

          ย้อนหลังไปประมาณ 25 ปี ....จะมีคำพูดเปรียบเปรย สำหรับคนที่ขับรถเดินทางไกลเป็นประจำคือ....เราจะรู้ทันทีเมื่อเข้าเขตจังหวัดสุพรรณบุรี เพราะถนนหนทางจะราบเรียบกว่าที่อื่นๆ เกาะกลางถนนหรือวิวสองข้างทางก็จะสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ.....ตรงกันข้าม เราจะรู้ได้ทันทีเมื่อเข้าเขตจังหวัดพิจิตร จากขับมาเรียบๆ นิ่งๆ ก็จะพบกับสภาพหลุมบ่อขื้นมาทันที เมื่อเข้าเขตจังหวัด....นี่บ่งบอกคุณภาพของพ่อเมืองได้เป็นอย่างดี

      ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเส้นทางคู่ขนานแล้วดีกว่าเมื่อก่อน....แต่ก็ยังมีการซ่อมบำรุงอยู่ตลอดเวลา

 

             พิจิตร เดิมสะกดว่า พิจิตร์ มีความหมายว่า "(เมือง) งาม" พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆะบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้ เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 

 

 

              ในสมัยอยุธยา พิจิตรเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีตำแหน่งเจ้าเมืองปรากฏตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนาทหารหัวเมืองว่า ออกญาเทพาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียภาหะ ศักดินา 5,000 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ระดับสูง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีหัวเมืองชั้นตรีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา จึงนับว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญสูง 

 

 

               ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             จังหวัดพิจิตร เป็นเมื่องทางผ่าน ....ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ถนนสายหลักจากนครสวรรค์ไปพิษณุโลกจะผ่านอำเภอรอบนอก ไม่ผ่านตัวเมืองพิจิตร จึงมีทางแยกขวามือเข้าตัวเมือง ถึงสามเส้นทางจากนครสวรรค์ ...ใครที่ไม่เคยมาก็อาจจะสับสน ที่ง่ายที่สุดก็คือ มองที่แยกหนองหัวปลวกแล้วเลี้ยวขวา ขับตรงไปอีกประมาณ 30 กม.ก็จะถึงตัวเมืองพิจิตร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          Tannoy Prestige GR Supertweeter-GO  ซุปเปอร์ทวิตเตอร์ที่ตอบสนองความถี่สูงไปได้ไกลถึง 100 KHz 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดพิจิตร โดยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าของประเทศ รองจาก บึงบอระเพ็ด ทะเลสาบหนองหาน บึงละหานและ กว๊านพะเยา ตามลำดับ โดยบึงสีไฟมีเนื้อที่ 5,390 ไร่ ซึ่งลดลงมาภายหลังจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ที่เดิมบึงสีไฟมีเนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ บึงสีไฟเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด แหล่งอาศัยของนกหลายชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรด้วย บึงสีไฟเป็นทะเลสาบรูปแอก ซึ่งเกิดจากแม่น้ำน่าน...... บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมือง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพิจิตรไปทางทิศตะวันตกเพียง 1 กิโลเมตร บึงแห่งนี้มีอาณาเขตติดต่อกับ 4 ตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร ได้แก่ ตำบลท่าหลวง ตำบลโรงช้าง ตำบลคลองคะเชนทร์ และตำบลเมืองเก่า บึงมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1.5–2 เมตร ซึ่งถือว่าไม่ลึกมากนัก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 137,148